1. สภาพทั่วไป - 1.1 ที่ตั้ง - สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านโป่ง ได้รับการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ตั้งอยู่เลขที่ 307 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอพร้าว มีระยะทางจากอำเภอไปตาม ถนนพร้าว - ปิงโค้ง ประมาณ 4 กิโลเมตร - 1.2 เนื้อที่ตำบลบ้านโป่งมีเนื้อที่ประมาณ 44 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 27,897 ไร่ - 1.3 ภูมิประเทศ - พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขาประมาณร้อยละ 78.78 ของพื้นที่ตำบล พื้นที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 21.22 ของพื้นที่ตำบล พื้นที่ทางกายภาพเป็นพื้นที่ราบอยู่ติดกับภูเขา มีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย และพื้นที่ราบลาดเอียงไปทางทิศตะวันตกของตำบล ในพื้นที่หมู่ที่ 4,5 และหมู่ที่ 1,2,3,6,7,8 จะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม บางส่วนอยู่ใกล้แม่น้ำงัด ทำให้เกิดน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก เทศบาลตำบลบ้านโป่งมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ - - ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ - - ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ - - ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ - - ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลปิงโค้ง และตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 1.4 จำนวนหมู่บ้าน -ประกอบด้วย หมู่บ้านที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านโป่ง โดยแยกพื้นที่การปกครองออกเป็น จำนวน 8 หมู่บ้าน ดังนี้ -หมู่ที่ 1 บ้านโป่ง ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายดำรงค์ สุริยะ -หมู่ที่ 2 บ้านสันต้นม่วง ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายจำนง สิทธิกุล -หมู่ที่ 3 บ้านดงหลวง ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเกษม ชัยวงศ์ -หมู่ที่ 4 บ้านป่าฮิ้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสำราญ บัวหลวง -หมู่ที่ 5 บ้านป่าลัน กำนันชื่อ นายอดุลย์ บัวผัน -หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งน้อย ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสมจิตร ธิใย -หมู่ที่ 7 บ้านหนองไฮ-ป่าหวาย ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเกรียงไกร สุขแก้ว -หมู่ที่ 8 บ้านดงป่าแดง ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเทวิน ปุกจันทร์ -2. สภาพทางเศรษฐกิจ -2.1 อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร พาณิชย์ รับราชการ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป และประกอบธุรกิจส่วนตัว -2.2 หน่วยธุรกิจในเทศบาลตำบล -- ธนาคาร - แห่ง -- โรงแรม - แห่ง -- ปั๊มน้ำมัน (หลอด) 10 แห่ง -- โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง -- โรงสี 3 แห่ง -- ร้านค้าต่าง ๆ 29 แห่ง -3. สภาพทางสังคม -3.1 การศึกษา -- โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง -- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง -- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 1 แห่ง -- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 8 แห่ง - 3.2 สถาบันและองค์การศาสนา -- วัด 5 แห่ง -- อาราม 3 แห่ง -- โบสถ์ 3 แห่ง -3.3 การสาธารณสุข -- โรงพยาบาลของรัฐ - แห่ง -- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 1 แห่ง -- สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง -- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง -- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 -3.1 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน -- จุดตรวจประจำตำรวจ 1 แห่ง -- สถานีดับเพลิง - แห่ง -4 การบริการพื้นฐาน -4.1 การคมนาคม - ถนนลูกรัง 40 สาย - ถนนลาดยาง 11 สาย - ถนน คสม. 30 สาย -4.2 การโทรคมนาคม - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ตำบล 1 แห่ง - ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 15 แห่ง -4.3 การไฟฟ้า - ไฟฟ้าเข้าถึง 8 หมู่บ้าน - จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า 1,391 ครัวเรือน -4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ ลำห้วย 5 สาย - บึง หนอง และอื่น ๆ 2 แห่ง -4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย 16 แห่ง - บ่อน้ำตื้น 732 แห่ง - บ่อน้ำบาดาล 38 แห่ง - ประปาหมู่บ้าน 16 แห่ง - ถังเก็บน้ำฝน 19 แห่ง -5 ข้อมูลอื่น ๆ -5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ - ป่าไม้ - แร่ธาตุ - น้ำแร่ -5.2 มวลชนจัดตั้ง - ลูกเสือชาวบ้าน - ไทยอาสาป้องกันชาติ - กองหนุนเพื่อความมั่นคง - เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำตำบล - อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) - คณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบลและหมู่บ้าน